สารบัญ
1. ประวัติที่มาของการใช้เคาน์เตอร์
เคาน์เตอร์เป็นโต๊ะชนิดหนึ่งที่มีลักษณะยาวและสูงกว่าโต๊ะทั่วไป ใช้เป็นจุดสำหรับให้บริการ ให้การต้อนรับ หรือเป็นจุดชำระเงิน ตามสำนักงาน, โรงแรม, ร้านค้า หรือในสถานที่ต่าง ๆ รวมถึงใช้ในห้องครัวตามบ้านเรือน
ที่มาของการใช้คำแรกว่า Counter ครั้งแรกคำว่า Counter มาจากคำว่า ‘Conteoir’ ในภาษาฝรั่งเศสโบราณที่มีรากศัพท์มาจากภาษาละตินคำว่า ‘Computare’ ที่หมายถึง การคำนวณหรือการนับ ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า Computer
ช่วงกลางศตวรรษที่ 15 ความหมายของสองคำนี้ (Conteoir และ Computare) ทำให้ Counter ถูกนำไปใช้กับโต๊ะที่มีการนับเงิน เช่น ในธนาคาร ต่อมาใน ศตวรรษที่ 17 คำว่า ‘Counter’ที่หมายถึงโต๊ะในร้านค้าที่มีเงิน ถูกยอมรับและใช้กันในวงกว้าง และใน ศตวรรษที่ 19 มีการใช้คำว่า ‘Countertop’ ที่หมายถึงเคาน์เตอร์ในครัวโดยอ้างอิงมาจาก คำว่า Counter ที่เป็นโต๊ะเก็บเงิน
(Source : The word detective, U.S.)
2. ความสำคัญของเคาน์เตอร์
ลองจินตนาการว่าร้านค้า โรงแรม และสำนักงานต่าง ๆ ไม่มีเคาน์เตอร์ ดูสิคะ.. แค่นี้เราก็พอจะเห็นความสำคัญของมันอย่างชัดเจนแล้วใช่มั้ยล่ะ :) จากความเป็นมาที่เราได้กล่าวถึงใน Section ก่อนหน้านี้ ในเรื่องต้นกำเนิดของคำว่า “Counter” ที่ถูกนำมาใช้ตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 ก็เห็นได้อย่างชัดเจนค่ะว่า
เคาน์เตอร์ มีความสำคัญต่อมนุษย์มาอย่างยาวนานกว่า 500 ปี
2.1 ความสำคัญในแง่ของการใช้งาน
2.2 ความสำคัญในแง่ของธุรกิจ
เมื่อเราทราบถึงประโยชน์ของการใช้งานของเคาน์เตอร์ จึงเป็นเหตุผลที่นำมาสู่ ความสำคัญในแง่ธุรกิจ เพราะตั้งแต่ 500 ปีที่แล้วมาจนถึงตอนนี้ เคาน์เตอร์ ยังคงถูกนำใช้แทบจะทุกองค์กร ทุกธุรกิจ ทุกหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็น
- ธนาคาร
- ร้านค้าปลีก
- ห้างสรรพสินค้า
- โรงแรม
- โรงพยาบาล
- คลินิกความงาม
- ร้านขายยา
- ไปรษณีย์
- สำนักงานต่าง ๆ
- และอื่น ๆ อีกมากมาย
เราจึงต้องยอมรับว่าเคาน์เตอร์ เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในธุรกิจประเภทร้านค้าปลีก โรงแรม และในสำนักงานต่าง ๆ เพราะทุกสถานที่จำเป็นต้องมี จุดศูนย์กลางในการที่ต้องพูดคุย สอบถาม ติดต่อประสานงาน รวมถึงการชำระเงิน
และยิ่งไปกว่านั้น หากคุณมีเคาน์เตอร์ที่ออกแบบมาอย่างสวยงาม เข้ากับสถานที่ รวมถึงแบรนด์นั้น ๆ นั่นยิ่งทำให้ส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ ผู้พบเห็น และผู้คนที่เข้ามาใช้บริการได้มากขึ้นค่ะ
( อ่านเพิ่มเติม >> 7 ความสำคัญของเคาน์เตอร์ ที่อาจสร้างพลังอันน่าทึ่งให้กับธุรกิจ )
3. ประเภทของเคาน์เตอร์มีแบบไหนบ้าง?
ถ้าพูดถึงการแบ่งประเภทเคาน์เตอร์ ถ้าแบ่งตามหลักจริง ๆ แล้วอาจจะไม่ได้มีการแบ่งประเภทที่ตายตัวเท่าไหร่นักค่ะ บางเจ้าก็แบ่งตามการใช้งาน บางเจ้าก็แบ่งตามวัสดุ ฉะนั้นการแบ่งประเภทของเคาน์เตอร์ในคอนเทนต์นี้ จะเป็นการแบ่งตามเว็บไซต์ TOOB Counter ของเราแล้วกันนะคะ
ซึ่งจะแบบออกเป็น 5 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
1. เคาน์เตอร์คิดเงิน (Checkout Counter)
เคาน์เตอร์คิดเงิน (Checkout Counter) หรือเคาน์เตอร์ชำระเงิน เป็นจุดในร้านค้าที่ลูกค้าต้องไปชำระค่าสินค้าที่ต้องการซื้อ ไม่ว่าจะจ่ายด้วยเงินสดหรือด้วยบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตก็ตาม ใช้ในห้างสรรพสินค้า, ร้านค้าปลีกต่าง ๆ ทั่วไป นอกจากนี้หลายที่ยังใช้คำว่า เคาน์เตอร์แคชเชียร์ (Cashier Counter), เคาน์เตอร์เก็บเงิน หรือ เคาน์เตอร์ร้านค้า (Retail Shop Counter) ด้วยเช่นเดียวกัน
2. เคาน์เตอร์ต้อนรับ (Reception Counter)
เคาน์เตอร์ต้อนรับ (Reception Counter) เป็นจุดต้อนรับในสถานที่ต่าง ๆ ใช้สำหรับตอบคำถาม บอกกล่าวหรือนัดหมาย เพื่อต้อนรับและเซอร์วิสผู้คนที่เข้ามาใช้บริการ มักจะตั้งอยู่ในสถานที่ที่ต้องมีพนักงานต้อนรับ เช่น โรงแรม ฟิตเนส หรือร้านอาหาร
นอกจากนี้ในหมวดของเคาน์เตอร์ต้อนรับยังอาจเรียกได้อีกหลายชื่อตามสถานที่หรือธุรกิจนั้น ๆ เช่น
- เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ (Information Counter) เป็นจุดที่ใช้ในบอกกล่าวข้อมูลต่าง ๆ โดยทั่วไปจะตั้งอยู่ในอาคารสาธารณะ เช่น สนามบิน ห้องสมุด สำนักงาน หรือโรงพยาบาล
- เคาน์เตอร์สำนักงาน (Office Counter) อาจจะตั้งอยู่หน้าทางเข้าออฟฟิศไว้สำหรับสอบถามติดต่อภายในบริษัท หรือบริเวณหน้าห้องของผู้บริหารที่มีเลขานั่งอยู่
- เคาน์เตอร์คลินิก (Clinic Reception Counter) เป็นจุดสำหรับต้อนรับ บริการ บอกกล่าว ตอบคำถาม หรือนัดหมายผู้ที่มาใช้บริการในคลินิก รวมไปถึงคลินิกความงามต่าง ๆ
3. เคาน์เตอร์กาแฟ (Coffee Counter)
เคาน์เตอร์กาแฟ (Coffee Counter) เป็นเคาน์เตอร์สำหรับร้านกาแฟ อาจจะเป็นซุ้มเล็ก ๆ หรือเป็นบาร์ยาว ๆ ก็ได้ เคาน์เตอร์แบบนี้จะถูกออกแบบมาให้มีพื้นที่สำหรับวางเครื่องบดกาแฟ, ป้ายสำหรับติดเมนูด้านหน้า, ตู้โชว์เบเกอรี่, พื้นที่สำหรับคิดเงิน รวมถึงอ่างล้างมือ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้าของร้านว่าอยากได้ฟังก์ชั่นแบบไหนนั่นเองค่ะ
4. เคาน์เตอร์ร้านขายยา (Pharmacy Counter)
เคาน์เตอร์ร้านขายยา (Pharmacy Counter) เป็นจุดสำหรับให้คนขายยาหรือเภสัชกร ตอบคำถาม, ให้คำแนะนำ, จ่ายยาให้กับผู้ที่มาใช้บริการ รวมถึงเป็นจุดชำระเงินในคราวเดียวกัน โดยเคาน์เตอร์แบบนี้จะพิเศษตรงที่มีช่องสำหรับใส่ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับยาทั้งหมด ส่วนใหญ่ก็จะเป็นพื้นที่ด้านหลังที่ติดผนังยาวตั้งแต่หน้าร้านไปจนสุดผนังหลังร้านค่ะ ซึ่งเคาน์เตอร์ร้านขายยาของ TOOB ก็มักจะออกแบบให้ และรับงานสั่งผลิต ตู้ไซด์บอร์ด ที่เป็นช่องใส่ยาด้านหลังเคาน์เตอร์ได้ตามพื้นที่และความต้องการของลูกค้าด้วยนะคะ
5. เคาน์เตอร์ครัว (Kitchen Counter)
เคาน์เตอร์ครัว (Kitchen Counter) บริเวณสำหรับทำอาหารภายในครัวเรือน มักจะถูกออกแบบขึ้นมาเป็นพิเศษสำหรับพื้นที่นั้น ๆ ซึ่งจะเป็นโครงไม้ก่อขึ้นมาและทับด้วย วัสดุปิดผิว บนท็อปเคาน์เตอร์ (Countertops) ชนิดต่าง ๆ อีกที ซึ่งวัสดุปิดผิวสำคัญมาก ต้องถูกออกแบบมาให้เหมาะกับการใช้งาน เพราะการประกอบอาหารของแต่ละพื้นที่นั้นต่างกัน
โดยบริเวณเคาน์เตอร์ก็จะเป็นงานบิ้วอินซะส่วนใหญ่ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้งานมากที่สุดค่ะ
6. เคาน์เตอร์บาร์ (Bar Counter)
เคาน์เตอร์บาร์ (Bar Counter / Counter Bar) สำหรับเคาน์เตอร์บาร์ เป็นประเภทเคาน์เตอร์ที่สามารถจัดอยู่ในหมวดของเคาน์เตอร์ได้ทุกประเภท ทั้งเคาน์เตอร์ต้อนรับ เคาน์เตอร์แคชเชียร์ เคาน์เตอร์กาแฟ เคาน์เตอร์ครัว และเคาน์เตอร์ร้านขายยา เพราะนิยามของเคาน์เตอร์บาร์เป็นเรื่องของรูปทรงและการดีไซน์ที่จะมีลักษณะโดดเด่นออกมา นั่นก็คือบาร์ที่ยกสูงขึ้นมาด้านบนท็อปเคาน์เตอร์ ออกแบบมาเพื่อเพิ่มฟังก์ชันการใช้งานได้มากขึ้น
ไม่ว่าจะเป็น ใช้เก็บอุปกรณ์สำนักงาน, ใช้วางเครื่องคิดเงิน, ใช้วางขวดไซรัป, ใช้เป็นมุมสำหรับการทำงานของเภสัช ใช้เป็นบาร์เหล้า หรือบาร์ไอแลนด์ในครัวก็ได้ เคาน์เตอร์บาร์จึงเป็นเคาน์เตอร์ที่ตอบโจทย์การใช้งานของธุรกิจอย่างหลากหลาย ทำให้เจ้าตัวนี้เป็นที่นิยมมากที่สุดในบรรดาเคาน์เตอร์ทั้งหมด
สรุป แบบรวดรัด
เคาน์เตอร์ เป็นโต๊ะที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับเป็นศูนย์กลางที่ใช้สำหรับชำระเงิน ประชาสัมพันธ์ หรือใช้สำหรับต้อนรับตามสถานที่ต่าง ๆ รวมถึงใช้ประโยชน์ ในครัวเรือน
เคาน์เตอร์ของ TOOB แบ่งเป็น 5 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่
- เคาน์เตอร์คิดเงิน (Checkout Counter) , เคาน์เตอร์แคชเชียร์ (Cashier Counter), เคาน์เตอร์ร้านค้า (Retail Shop Counter)
- เคาน์เตอร์ต้อนรับ (Reception Counter) , เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ (Information Counter) , เคาน์เตอร์สำนักงาน (Office Counter) , เคาน์เตอร์คลินิก (Clinic Reception Counter)
- เคาน์เตอร์กาแฟ (Coffee Counter)
- เคาน์เตอร์ร้านขายยา (Pharmacy Counter)
- เคาน์เตอร์ครัว (Kitchen Counter)
- เคาน์เตอร์บาร์ (Bar Counter)
ซึ่งเคาน์เตอร์มีความสำคัญกับธุรกิจ, ร้านค้าปลีก, โรงแรม และสำนักงานต่าง ๆ เป็นอย่างมาก สถานที่เหล่านี้ จะขาดเคาน์เตอร์ไปไม่ได้เลยค่ะ เนื่องจากแต่ละ สถานที่จะต้องมีจุดศูนย์กลางในการติดต่อประสานงานหรือให้บริการ รวมถึงชำระเงิน และที่สำคัญเคาน์เตอร์ยังเป็นจุดสร้างความประทับใจให้กับสถานที่นั้น ๆ ได้ตั้งแต่แรกที่ผู้คนพบเห็น
ทีนี้ทุกคนก็ทราบกันแล้วว่า เคานเตอร์คืออะไร สำคัญอย่างไร และมีกี่แบบ หากอยากเยี่ยมชมเว็บไซต์ ตัวอย่างเคาน์เตอร์ของ TOOB หรือต้องการสอบถาม เพิ่มเติม สามารถคลิกได้ที่ด้านล่างเลยค่ะ :)